วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เทคนิคการอภิบาล 1:1


อ่าน: 393
ความเห็น: 0

เทคนิคการอภิบาล 1:1

เทคนิคการอภิบาล 1:1 เป็นการอภิบาลที่เกิดผลและมีประสิทธิภาพสูงสุด

เทคนิคการอภิบาล 1:1

คำนำ

            การอภิบาลแบบ  1:1  เป็นการอภิบาลที่เกิดผลและมีประสิทธิภาพสูงสุด  ที่ไม่สามารถนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาทดแทน  เพราะเป็นการถ่ายทอดชีวิตและคำสอนโดยตรง  จนหลักการทางพระคัมภีร์อันนี้  ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในระบบการขายที่เรียกว่า  "ระบบไดเร็กเซลล์"  กำลังเป็นระบบการขายที่มียอดการขายที่เกิดประสิทธิภาพ  และเพิ่มยอดการขายที่บริษัทเติบโตเป็นอย่างยิ่ง  ซึ่งในฐานะที่เราเป็นคริสเตียนเป็นเจ้าของหลักการแบบ 1:1  เรายิ่งต้องควรทำให้เกิดผลมากขึ้น  ในการขยายอาณาจักรของพระเจ้า

ความหมายของการอภิบาล 1:1

            การอภิบาล 1:1 หมายถึง การอภิบาลแบบเฉพาะเจาะจง เป็นการพบปะส่วนตัวเพียงตัวต่อตัวระหว่างผูอภิบาล (ผู้เลี้ยง)กับผู้รับการอภิบาล (แกะจุดประสงค์ก็เพื่อเสริมสร้างชีวิตแกะให้ไปสู่ความไพบูลย์ของพระเยซูคริสต์ ดังนั้นในการอภิบาล 1:1ผู้อภิบาลกับผู้รับการอภิบาลจึงจะต้องเป็นเพศเดียวกัน (ไม่อภิบาล 1:1 ข้ามเพศ)

ความสำคัญของการอภิบาลแบบ  1:1

1.      ทำให้ผู้รับการอภิบาลถูกช่วยเหลืออย่างแท้จริง
ก.    สามารถแบ่งปันชีวิตส่วนตัวได้อย่างเปิดเผย
ข.    สามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างทันเหตุการณ์
2.      ทำให้เกิดความผูกพันชีวิตด้วยกัน
ก.    มีความไว้วางใจ
ข.    มีความสนิทสนม
ค.    มีความเข้าใจกันและกัน
ง.     มีมิตรภาพของความเป็นเพื่อนและผู้นำฝ่ายวิญญาณอย่างสมดุล
3.      ทำให้สามารถสร้างชีวิตในการรับใช้ได้อย่างเกิดผล
ก.    สามารถตำหนิ , ตักเตือนลูกแกะ  ภายใต้ความสัมพันธ์ที่ดี
ข.    สามารถถ่อยทอดคำสอน  และคำแนะนำได้อย่างถูกต้อง
ค.    สามารถนำไปฝึกหัดภาพปฏิบัติได้อย่างใกล้ชิด

การบริหารเวลา 45 นาทีในการอภิบาล 1:1

ในการอภิบาล 1:1 แต่ละครั้ง  ควรใช้เวลาร่วมกันไม่น้อยกว่า 45 นาที/ครั้ง/สัปดาห์  และในแต่ละครั้ง  ควรประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้
          นาที                                 กิจกรรม         
         10                ผู้เลี้ยงและแกะแบ่งปันพระพรและประสบการณ์ใหม่สดที่ได้รับจากพระเจ้า  และ
                            ผู้เลี้ยงอธิษฐานนำการสอน
         20                สอน/แบ่งปันความคิด/แบ่งปันสิ่งที่ได้รับจากคำสอน
         15                สร้างสัมพันธ์ ไต่ถามทุกข์สุข ให้คำปรึกษา หนุนน้ำใจ/เตือนสติ อธิษฐานขอพระเจ้า
                            อวยพรการดำเนินชีวิตในสัปดาห์นี้
1.      การสอนพระคัมภีร์
·         สอนทุกเรื่องครบถ้วน  สอนสมดุลทุกด้าน
·         คำสอนในการอภิบาล 1:1  แต่ละครั้ง  มีความแตกต่างจากคำสอนกลุ่มดาวิด 
·         คำสอนในการอภิบาล 1:1 เน้นการพัฒนาชีวิต  เป็นคำสอนสั้นๆ เหมาะสมแก่เวลาประมาณ 20 นาที
·         เมื่อสอนจบ  ควรเปิดโอกาสให้แกะแสดงความคิดเห็น  แบ่งปันข้อคิดได้รับ (10นาที)
2.      การสร้างสัมพันธ์
·         ความสัมพันธ์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก แกะจะไม่กล้าหรือไม่อยากเปิดเผยชีวิตกับเรา หากเขาไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเรา 
·         ความสัมพันธ์ยังทำให้เราสามารถตักเตือนเขาได้เมื่อเขาทำผิด  บางครั้งแม้จะเตือนแรงสักเท่าใดแกะก็สามารถรับได้ เพราะความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันทำให้เขายังคงมั่นใจในความรักที่เรามีให้แก่เขา 
·         ความสัมพันธ์ทำให้เขารับในสิ่งที่เราสอนได้อย่างง่ายดายโดยไม่มีกำแพงใดๆ ขวางกั้น
·         ความสัมพันธ์ทำให้เกิดความไว้วางใจกัน                     
·         เราสามารถสร้างความสัมพันธ์กับแกะได้หลายทาง เช่น การเล่นกีฬาที่เขาชอบ ไปสันทนาการหรือทำงานอดิเรกร่วมกับเขา เช่น ซื้อของ เล่นดนตรี เป็นต้น
3.      การสนใจถามไถ่เรื่องส่วนตัวเพื่อทำความรู้จัก
·         การทำความรู้จักกับเขาทำให้เราสามารถดูแลเขาได้อย่างเหมาะสม ถูกต้อง ชัดเจน เช่น เมื่อเราจะเตือนเขาก็เตือนเขาได้ด้วยความเข้าใจไม่ใช่ด้วยการพิพากษา อีกทั้งทำให้เกิดน้ำหนักในคำพูดของเราอีกด้วย เพราะเขาสามารถมั่นใจได้ว่า เราตักเตือนเขาจากพื้นฐานที่รู้จักเขาเป็นอย่างดี    เป็นต้น 
·         การทำความรู้จักเขานั้น  จะต้องทำความรู้จักทั้งในส่วนดีและส่วนที่เขายังบกพร่องอยู่ เราต้องเรียนรู้จักเขาแม้แต่ความรู้สึกนึกคิดของเขา   (เมื่อไรที่เราสามารถเข้าไปอยู่ในความรู้สึกนึกคิดของเขาได้   ก็นับได้ว่าเรามีชัยชนะในการอภิบาลเขาไปครึ่งหนึ่งแล้ว)
·         แนวทางการอภิบาล1:1 ในการทำความรู้จักแกะ  ก็เพื่อที่เราจะสามารถใช้ประโยชน์หรือพัฒนาเขาในส่วนดีของเขา และแก้ไขส่วนที่ไม่ดีได้
·         สนใจไต่ถามความรู้สึกนึกคิดของเขาในสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อจะรู้จักเขามากขึ้น  และเพื่อปรับมุมมองของเขาให้เข้าใกล้พระวจนะพระเจ้า
4.      การให้คำปรึกษา
·         มนุษย์ทุกคนเป็นคนบาปแม้จะรับการไถ่แล้วก็ตาม  เราก็ยังอยู่ในสภาพของความบาปอยู่ และในสภาพนี้เองทำให้ทุกคนมีปัญหาด้วยกันทั้งสิ้น  
·         ทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนเป็นคริสเตียน หรือปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากที่เป็นคริสเตียนแล้ว  ทั้งที่เขารู้ตัวว่าเป็นปัญหาที่ต้องรับการแก้ไขหรือไม่รู้ตัว  ในสภาพนี้เองทำให้แกะทุกคนต้องการได้รับคำปรึกษา  โดยเฉพาะบางเรื่องที่เป็นเรื่องส่วนตัว ที่ไม่เหมาะสมที่จะให้คำปรึกษาในท่ามกลางคนหมู่มาก  การอภิบาล 1:1 จึงเป็นเวลาที่ดีในการให้คำปรึกษาแก่แกะได้
·         ผู้เลี้ยงจึงเป็นบุคคลสำคัญที่สุดต้องพร้อมอยู่เสมอในการให้คำปรึกษาแกะในทุกเวลา  และเมื่อให้คำปรึกษาแล้วแต่หากแกะยังไม่ได้รับการปลดปล่อยจากปัญหา   ผู้เลี้ยงไม่ควรปล่อยปละละเลย   ควรส่งขึ้นมาเป็นลำดับชั้นจนกว่าแกะจะได้รับการปลดปล่อยจากปัญหาอย่างแท้จริง
5.      การหนุนน้ำใจเตือนสติ
·         แกะทุกคนมีทั้งส่วนดีที่ต้องการรับการหนุนน้ำใจชมเชย      และส่วนที่ยังต้องรับการเตือนสติเพื่อจะปรับปรุงแก้ไข   เราจึงไม่ควรละเลยทั้งการหนุนน้ำใจแกะและการเตือนสติแกะ 
·         การหนุนน้ำใจจะเป็นสิ่งที่ให้กำลังใจ และทำให้แกะรู้ว่าเขากำลังทำในสิ่งดี    สิ่งที่เป็นพระพรและมีคุณค่า  สมควรได้รับการยกย่อง
·         ส่วนการเตือนสติจะเป็นการชี้ถูกชี้ผิดที่ทำให้เขารู้ว่าสิ่งใดหรือท่าทีใดถูก และสิ่งใดหรือท่าทีใดผิด  ทำให้เขารู้ว่าเขากำลังทำหรือคิดในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และต้องแก้ไขโดยด่วน  และเป็นการชี้ให้เขาเห็นว่าหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจะทำให้เกิดผลร้ายต่อชีวิตของเขาและต่อคนที่เขารักอย่างไรบ้าง

ตัวอย่างเรื่องที่ใช้สอนในการอภิบาล 1:1    เช่น

1.     หมวดชีวิตกับพระเจ้า
1.        บาป  โทษของบาป  การกลับใจ  และพระกิตติคุณ
2.        ความมั่นใจในความรอด
3.        การเฝ้าเดี่ยว
4.        การศึกษาพระคัมภีร์ส่วนตัว
5.        การสารภาพบาป
6.        การเผชิญการทดลอง
7.        การเต็มล้มด้วยพระวิญญาณ
8.        การเชื่อฟังและการเรียงลำดับความสำคัญในชีวิตอย่างถูกต้อง
9.        การตีสอนจากพระเจ้า
10.    อุปนิสัยแบบชอบธรรม
11.    การแสวงหาน้ำพระทัยพระเจ้า

12.    การอารักขาและการถวาย
13.    การมีส่วนร่วมรับใช้ในคริสตจักร
2.     หมวดหลักข้อเชื่อ
1.      ตรีเอกานุภาพ
2.      ความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์
3.      สิทธิอำนาจของพระคัมภีร์
4.      การบัพติศมาด้วยน้ำ
5.      ซาตาน  ผีวิญญาณชั่ว
6.      คริสตจักร
7.     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น